วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทีดีอาร์ไอ


คำนำ
สังคมส่วนใหญ่เกือบทุกสังคมในโลก ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม และนับถือศาสนาใด ไม่ว่าจะยังด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมหรือพัฒนาแล้วก็ตาม ต่างมีความต้องการในการรับทราบข่าวสาร และต่างต้องพึ่งพาอาศัยข้อมูลสารสนเทศในการดำรงชีวิตประจำวันมากขึ้นๆ ทุกวัน สังคมไทยก็ไม่ยกเว้นเช่นกัน
ยิ่งกว่านั้นสังคมไทยยังเป็นสังคม เปิดที่ประชาชนมีความสนใจและมีการบริโภคข่าวสารในอัตราสูง และในปัจจุบันสื่อสารมวลชนก็ยังมีเสรีภาพที่ค่อนข้างจะเต็มเปี่ยม เมื่อเทียบกับอีกหลาย ๆ ประเทศในภูมิภาคใกล้เคียงกับไทย ที่จัดว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่สังคมเปิดของไทยจะยังสมบูรณ์เต็มที่ไม่ได้ หากกลไกของรัฐ ยังไม่สามารถจะขจัดอุปสรรคที่ยังมีเหลืออยู่ให้หมดสิ้นไป เพื่อให้มีการเผยแพร่ข้อมูลทั่วไปของราชการแก่สาธารณชนได้อย่างเปิดเผยและเสรีเต็มที่กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
ความต้องการในข่าวสารข้อมูลของสังคมไทย มีรากเหง้ามาเป็นเวลาช้านาน แต่กระแสความตื่นตัวดูเหมือนจะมีความเด่นชัดและรุนแรงที่สุดในช่วงพฤษภาทมิฬ ทั้งนี้เบื้องหลังความตื่นตัวในความต้องการ และความสำเร็จของการตอบสนองที่นำไปสู่การรับและแพร่กระจายของข่าวสารข้อมูลอย่างฉับพลันและกว้างไกล ไม่ว่าจะเป็นในรูปของเสียง รูป ข้อความ และภาพเคลื่อนที่ ดังเช่นในขณะนี้คงเป็นไปมิได้ หากมิใช่เพราะวิวัฒนาการของเทคโนโลยีกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT)
สารสนเทศและสังคมสารสนเทศในศตวรรษที่ 21
สารสนเทศ (information) ในที่นี้จะมีความหมายครอบคลุมตั้งแต่ข่าวสาร (news) ข้อมูล (data) สารสนเทศซึ่งเป็นข่าวสารข้อมูลที่มีการวิเคราะห์ ประมวล หรือแปรรูปแล้ว ไปจนถึงวิชาความรู้ (knowledge) ซึ่งคือข้อเท็จจริงที่มีการค้นคว้าได้หลักฐานหรือเหตุผลชัดเจน และจัดเข้าเป็นระเบียบแล้ว
สารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานปัจจัยที่ห้า เพิ่มจากปัจจัยสี่ประการที่มนุษย์เราขาดเสียมิได้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่จำเป็น ในการประกอบธุรกิจ ในการค้าขาย การผลิตสินค้า และบริการ หรือการให้บริการสังคม การจัดการทรัพยากรของชาติ การบริหารและปกครอง จนถึงเรื่องเบา ๆ เรื่องไร้สาระบ้าง เช่น สภากาแฟที่สามารถพบได้ทุกแห่งหนในสังคม เรื่องสาระบันเทิงในยามพักผ่อน ไปจนถึงเรื่องความเป็นความตาย เช่น ข่าวอุทกภัย วาตภัย หรือการทำรัฐประหารและปฏิวัติ เป็นต้น
วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผลประโยชน์ต่างๆ จากการประยุกต์ใช้ของเทคโนโลยีดังกล่าว ล้วนเกิดจากคุณสมบัติพิเศษหลาย ๆ ประการของเทคโนโลยีกลุ่มนี้ อันสืบเนื่องจากการพัฒนาของ เทคโนโลยีที่มีอัตราสูงและอย่างต่อเนื่องตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีนี้ส่งผลให้ (1) ราคาของฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ รวมทั้งค่าบริการ สำหรับการเก็บ การประมวล และการแลกเปลี่ยนเผยแพร่สารสนเทศมีการลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว (2) ทำให้สามารถนำพาอุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งคอมพิวเตอร์และ โทรคมนาคมติดตามตัวได้ เนื่องจากได้มีพัฒนาการการย่อส่วนของชิ้นส่วน (miniaturization) และพัฒนาการการสื่อสารระบบไร้สาย และ (3) ประการท้าย ที่จัดว่าสำคัญที่สุดก็ว่าได้คือ ทำให้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมุ่งเข้าสู่จุดที่ใกล้เคียงกัน (converge)
ประเทศอุตสาหกรรมในโลกได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยียุทธศาสตร์กลุ่มนี้ จึงให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีนี้มากกว่าเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่จัดเป็นเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์สำคัญอีกหลายกลุ่ม ดังเช่นกลุ่มประเทศ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ได้ศึกษาเปรียบเทียบ ศักยภาพของเทคโนโลยีไฮเทค 5 กลุ่มสำคัญในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ในประเด็นผลกระทบสำคัญ 5 ประเด็น ได้แก่ (1) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ (2) การปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ (3) การยอมรับจากสังคม (4) การนำไปใช้ประยุกต์ในภาค/สาขาอื่น ๆ และ (5) การสร้างงานในทศวรรษปี 1990 ปรากฏว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการยอมรับในศักยภาพสูงสุดในทุก ๆ ประเด็น
ในสหรัฐอเมริกาก็เช่นกัน มีการศึกษาวิเคราะห์ถึงขีดความสามารถในเชิงแข่งขันเปรียบเทียบกับประเทศญี่ปุ่น ในเทคโนโลยีกลุ่มไฮเทคที่สำคัญต่อประเทศ 11 ชนิดด้วยกัน ปรากฏว่า 8 ชนิดจากทั้งหมด 11 ชนิด จัดเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งโดยตรงหรือเป็นส่วนประกอบ จะยกเว้นเพียง 3 ชนิดคือ เวชภัณฑ์ยา เครื่องบิน และวัสดุใหม่เท่านั้น
ประเทศเหล่านี้จึงมีแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างจริงจัง และได้ทุ่มงบประมาณมากมายมหาศาล เพื่อการพัฒนานี้ จึงเป็นที่คาดกันว่าวิวัฒนาการของ เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตอันใกล้นี้ จะเป็นไปอย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาประเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศจัดว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะแม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะยังไม่มีบทบาทโดดเด่นในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการค้า ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในด้านการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการจัดให้บริการสังคมพื้นฐาน (การศึกษาและ การสาธารณสุข ฯลฯ) ในการบริหารประเทศ และในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
บทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
ในปัจจุบันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศได้กลายเป็นอุตสาหกรรมผลิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีการประมาณการว่าตลาดโลกสำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ โทรคมนาคม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จะมีขนาด 1,600 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 1994 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยถึงร้อยละ 20 ต่อปี
แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเพียงไม่กี่ประเทศในโลกที่ได้ผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจจากการเป็นผู้ผลิตดังกล่าว แต่ด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีดังที่กล่าวมา นานาประเทศ ต่างสามารถรับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จากการเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น
บทบาทต่อการให้บริการของรัฐและในด้านการศึกษา
ในด้านการให้บริการจากรัฐแก่ประชาชน อาทิ บริการสาธารณสุข การศึกษา และฝึกอบรม ก็ได้มีตัวอย่าง ที่เห็นผลตอบแทนที่ไม่เป็นเพียงนามธรรม แต่เป็นรูปธรรม อย่างชัดเจนในหลาย ๆ ประเทศ
การศึกษาในประเทศฟิลิปปินส์ถึงผลประโยชน์ของโทรคมนาคม โดยสมาพันธ์โทรคมนาคมโลก (ITU หรือ International Telecommunications Union) ชี้ให้เห็นถึงผลตอบแทนเทียบกับการลงทุนในอัตรากว่า 30 ต่อ 1 ในภาคบริการสาธารณสุข และกว่า 40 ต่อ 1 ในภาคเกษตรกรรม
ข้อสรุปในเบื้องต้นของโครงการ Civil Service Computerization Programme ของรัฐบาลสิงคโปร์ นอกจากจะก่อให้เกิดการให้บริการรัฐที่รวดเร็วคล่องตัว และสะดวกสบายแก่ประชาชนแล้ว ยังมีผลตอบแทนโดยตรง จากการลดค่าใช้จ่ายสืบเนื่องจากการใช้บุคลากรในภาครัฐให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ในอัตรา 2.71 ต่อ 1 หน่วยการลงทุนต่อปี ทั้งนี้โดยยังไม่รวมถึงผลตอบแทนทางอ้อมอื่น ๆ อีกด้วย
การติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลท้องถิ่นนคร Pusan ในประเทศเกาหลีใต้ ภายใต้เงินกู้จากธนาคารโลก ก็ได้นำไปสู่การเก็บรายได้เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 6 ต่อปี และลดภาระหนี้สินลงกว่ากึ่งหนึ่งในช่วงปี 1986 ถึง 1991 ในทำนองเดียวกัน โครงการเงินกู้โดยธนาคารโลกเพื่อสร้างระบบวิเคราะห์และจัดการด้วยคอมพิวเตอร์ ให้แก่กระทรวงรถไฟแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้นำไปสู่การเพิ่มผลิตผล การขนถ่ายสินค้า และผู้โดยสารถึงกว่าร้อยละ 10 คิดเป็นมูลค่าจากการลดความจำเป็น ในการลงทุนเพื่อก่อสร้าง ปรับปรุง และขยายบริการ ถึงกว่า 4 ถึง 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงระหว่างปี 1983 ถึง 2000
ในประเทศสหรัฐฯ ผลงานศึกษาวิจัยหลาย ๆ ชิ้น ต่างชี้ถึงผลประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (เช่น CAI/CAL) ในการศึกษาฝึกอบรมว่าโดยเฉลี่ย จะสามารถลดค่าใช้จ่าย (ในประเทศสหรัฐฯ) ถึงกว่าร้อยละ 30 ขณะที่การเรียนรู้จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30 โดยใช้เวลาในการศึกษาลดลงถึงร้อยละ 40
ความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในหมู่ประเทศกำลังพัฒนาก็สามารถสรุปได้อย่างเด่นชัด จากผลการวิเคราะห์ของธนาคารโลกในโครงการทั้งสิ้นเกือบ 1,000 โครงการ ในปี 1986, 1989, 1990 และ 1991 โครงการเงินกู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น ๆ นอกเหนือจากโทรคมนาคมของธนาคารโลก ได้เพิ่มในอัตราสูงจาก 379 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 1986 เป็น 890 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 1991 หรือสูงเป็นร้อยละ 235 ของปี 1986 เทียบเท่ากับ 6 เท่าของอัตราการเติบโตเพียงร้อยละ 39 ของเงินกู้ทั้งหมดในช่วงเดียวกัน
โดยสรุป ด้วยบทบาทอันสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในนานาประเทศดังกล่าว การลงทุนใน เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีสัดส่วนสูง เมื่อเทียบกับการลงทุนด้านอื่น ๆ เป็นต้นว่าในกลุ่มประเทศ OECD การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีสัดส่วนเหนือการลงทุนของสินค้าทุนด้านอื่น ๆ รวมกันระหว่างปี 1983 ถึง 1990 กลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 11 ประเทศดังกล่าวข้างต้นมีอัตราการเพิ่มในการลงทุนด้านนี้ต่อปีในอัตราสูง ตั้งแต่ร้อยละ 10.77 ในประเทศมาเลเซีย ถึงร้อยละ 25.0 ในประเทศไทย
ผลกระทบต่อวัฒนธรรมและสังคม
เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลกระทบต่อสังคมมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับว่ามนุษย์จะเลือกใช้มันอย่างไร ใน โลกปัจจุบันแรงผลักดันทางเศรษฐกิจมักจะมีบทบาทสูง ในการกำหนดทิศทางของเทคโนโลยี เป็นที่ทราบกันดีว่า เทคโนโลยีการสื่อสารทั้งในอดีตและปัจจุบันได้เปลี่ยนโฉมของธุรกิจบันเทิงไปอย่างมาก ในอนาคตธุรกิจ บันเทิงนี้แหละจะเป็นตัวทำเงินให้แก่ผู้ประกอบการทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคม บังเอิญธุรกิจบันเทิงเป็นธุรกิจที่มีอิทธิพลอย่างสูงกับแนวความคิด ความอ่านของผู้คนในสังคม เพราะเป็นวิถีทางหนึ่งที่ผู้ร่วมบันเทิงได้รับอิทธิพลทางความคิดจากผู้อื่นที่ร่วมอยู่ในวงบันเทิง และยอมรับสถานภาพว่า ตนก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นๆ การถ่ายทอดแนวความคิดระหว่างบุคคลในสังคมนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่เราเรียกว่าวัฒนธรรม
ในอดีตก่อนที่จะมีวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ ผู้คนในสังคมที่ต้องการพักผ่อนหย่อนใจ หรือร่วมในวงบันเทิงก็จะร่วมอยู่ในวงการบันเทิงนั้น ๆ โดยตรง แต่ละวงก็จะเป็นวงเล็ก ๆ ผู้แสดงกับผู้ดูจะเห็นหน้ากัน ในบางครั้ง (เช่น ในวงดนตรีหรือวงฟ้อนรำ หรือในงานทำบุญต่างๆ เช่น งานบุญบั้งไฟในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ก็อาจจะแยกไม่ได้ว่าใครเป็นคนแสดง ใครเป็นคนดูหรือคนฟัง ต่อมาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์แรก ๆ จากเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เอื้ออำนวยให้ผู้แสดง สามารถแสดงให้ผู้ฟังหรือผู้ดูได้ทีละเป็นจำนวนมาก ๆ ความใกล้ชิดซึ่งเคยมีระหว่างผู้แสดงและผู้ดูก็ค่อย ๆ หายไป อีกประการหนึ่ง ขีดจำกัดสำคัญของเทคโนโลยีการกระจายคลื่นวิทยุโทรทัศน์ในอดีต 
ประเทศไทยกับการก้าวสู่สังคมสารสนเทศ
ในปัจจุบันประเทศไทยได้ตระหนักถึงศักยภาพอันมหาศาลของเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังจะเห็นได้ว่ามี การพัฒนาเครือข่ายและบริการโทรคมนาคมอย่างจริงจัง ซึ่งเปรียบเสมือนทางหลวงสำหรับการขนถ่ายแลกเปลี่ยนสารสนเทศ อันเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะขาดแคลนหรือล้าสมัยมิได้ โครงการหลาย ๆ โครงการที่มีมูลค่ารวมกัน เป็นแสนๆ ล้านบาท จึงได้รับการผลักดันให้เกิดขึ้นในที่สุด อาทิ โครงการขยายเครือข่ายโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย โครงการดาวเทียมสื่อสารไทยคมดวงที่ 1 และ 2 โครงการเครือข่ายบริการร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) โครงการเส้นใยแก้วนำแสงตามทางรถไฟทั่วประเทศ โครงการเส้นใยแก้วนำแสงใต้น้ำหลายโครงการ ที่จะเชื่อมโยงประเทศไทยกับประเทศอาเซียน เชื่อมโยงกับฮ่องกงผ่านเวียดนาม และเชื่อมโยงกับประเทศยุโรปผ่านประเทศตะวันออกกลาง เป็นต้น รวมถึงการเปิดโอกาส ให้ภาคเอกชนมีส่วนในการพัฒนาในบางโครงการ
บทสรุปและคำถามทางนโยบาย
หนึ่ง ภายใต้สภาวะของการเปลี่ยนแปลงของโลกภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ทุกๆ ประเทศและทุกๆ สังคม ไม่ว่ามั่งมีหรือยากจน กำลังย่างก้าวสู่สังคมสารสนเทศ ด้วยกันทั้งสิ้น ต่างกันเพียงแต่จะเร็วหรือช้ากว่ากันเท่านั้น บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเพิ่มเป็นเงาตามตัว ในฐานะปัจจัยหลักปัจจัยหนึ่งต่อการพัฒนาสังคมและ เศรษฐกิจโลก การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงแต่จะเพิ่มผลผลิตในเชิงเศรษฐศาสตร์ ด้วยการยกระดับผลิตภาพและประสิทธิภาพของการผลิต และการยกระดับ คุณภาพของสินค้าและบริการที่สังคมจะได้ ทั้งในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และภาครัฐแล้ว เทคโนโลยีดังกล่าวยังสามารถทำให้เกิดสินค้าและบริการชนิดใหม่ ๆ ขึ้นอย่างมากมาย สามารถสร้างศักยภาพใหม่ในการจ้างงานและเพิ่มสีสันและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อสังคมในวงกว้างได้อย่างแน่นอนในอนาคต
สอง แต่การใช้เทคโนโลยีนี้โดยปราศจากความรู้ความเข้าใจและความระมัดระวัง หรือยังไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมส่วนใหญ่ จะส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง และนำไปสู่คุณภาพชีวิตในทางลบได้ โดยเฉพาะจากธรรมชาติหรือศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เต็มไปด้วยข้อเท็จจริงที่เสมือนจะแย้งกันเอง นโยบายในการจัดการ กับเทคโนโลยีนี้ จึงมีความสำคัญเป็นทวีคูณต่อทางเลือกที่จะนำไปสู่การเพิ่มคุณและลดโทษต่าง ๆ อันจะพึงมีได้
สาม ด้วยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในอัตราสูงสุดในประวัติศาสตร์โลก ที่ยังดูเสมือนไม่หยุดหย่อน แต่กลับทวีความรุนแรงขึ้น นโยบายด้านเทคโนโลยี สารสนเทศจึงเต็มไปด้วยความซับซ้อน ยากลำบาก และสามารถที่จะ ล้าสมัยได้โดยง่าย การกำหนดนโยบายจึงมีความจำเป็นยิ่ง ที่จะต้องเป็นรูปแบบที่มีความคล่องตัว ต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นโยบายและกฎหมายบริการโทรคมนาคมที่ยังรอการตัดสินใจในขณะนี้ จักต้องมีลักษณะคล่องตัวต่อการแก้ไขในอนาคต อีกทั้งผู้ที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายจักต้องติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในโลกอย่างใกล้ชิดที่สุด
สี่ ท้ายสุดนี้ ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ในการก้าวสู่สังคมสารสนเทศอย่างไร เราเตรียมพร้อมในการพัฒนาสมรรถภาพทางเทคโนโลยีและการจัดการเพียงไร เพื่อจะมิต้องตกเป็นทาสทางเทคโนโลยีของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจมากยิ่ง ๆ ขึ้น เราได้ฉกฉวยโอกาสในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ เช่น การขยายเครือข่ายโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์ในการสร้างสมรรถนะทางเทคโนโลยีของประเทศหรือไม่ เราได้มีการเร่งรัดพัฒนาบุคลากรด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสารสนเทศหรือยัง ระบบราชการและการปกครองจะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไร ประชาชนได้รับการศึกษาและความรู้เพียงพอหรือไม่ ในการก้าวสู่ยุคใหม่นี้ เหล่านี้คือคำถามทางนโยบายและการปฏิบัติที่ยังรอคำตอบอยู่




วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ


      เศรษฐกิจไทยเจริญเติบโตอย่างไม่ยั่งยืนและขาดความสมดุลมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย และเน้นการพึ่งพิงทุนและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ขาดการเตรียมความพร้อมในการเปิดเสรีทางการค้าและการเงิน ขาดระบบบริหารจัดการ และกำกับตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ จนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ อันเป็นผลมาจากการใช้จ่ายเกินตัว
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยกลับพบความจริงว่า ชุมชนชนบทไทย กลับมีศักยภาพ ในการรองรับผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ทั้งนี้เพราะ "ชุมชนหมู่บ้านที่ไม่มีการพัฒนาเทค โนโลยี สู้รัฐและระบบทุนไม่ได้ แต่ที่ต่อสู้ยืดเยื้อได้ช้านานใน สังคมไทย ก็เพราะได้ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติมาชดเชยไว้"

เศรษฐกิจชุมชน



การดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนเชิงคุณธรรมประจำตำบลสันทราย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบการทำงานของคณะกรรมการศูนย์ฯ ให้เกิดความสมดุลและสอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น มีเป้าหมายในการผลิตสินค้าที่แน่นอนในแต่ละเดือน เพราะ มีตลาดรองรับที่แน่นอน สร้างระบบบริหารจัดการการเงินที่มีประสิทธิภาพที่ทราบถึงรายรับและรายจ่ายที่แน่นอน และศูนย์ฯ ค่อยเติบโตอย่างช้าๆ บนพื้นฐานที่มีความมั่นคง และเกิดประโยชน์ต่อชุมชนมากยิ่งขึ้น จากการประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ฯ ปี พ.ศ.2552 ในภาพรวมอยู่ในระดับ “ดี” โดยมีผลการประเมินทั้งหมด จำนวน 5 ด้าน อยู่ในระดับ ดี ได้แก่ ด้านการบริหารองค์กร (จริยธรรมธุรกิจ) ด้านการจัดการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้านการตลาด ด้านการเงินและการบัญชีและด้านสื่อประชาสัมพันธ์ ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนเชิงคุณธรรมประจำตำบลสันทราย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความรู้ ความสามารถ และศักยภาพเพิ่มมากขึ้น และสามารถพัฒนาธุรกิจชุมชนเชิงคุณธรรม ในธุรกิจประเภทอาหาร (มันกัลยา) อันจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่นให้มีการเจริญเติบโตอย่างเป็นธรรม และยั่งยืนต่อไป

กล้วยฉาบที่ราบสูง


    กล้วยฉาบที่มีรสหวานแล้ว กลุ่มฯ ยังทำกล้วยฉาบรสเค็มด้วยเช่นกัน ซึ่งการทำจะแตกต่างจากกล้วยฉาบหวานตรงที่ใช้กล้วยหักมุกในการทำและฝานกล้วยเป็นวงกลม หลังจากทอดเสร็จแล้วก็นำมาคลุกเกลือ โดยกล้วย 7 กิโลกรัมใช้เกลือ 3 ช้อนโต๊ะ จากนั้นนำมาอบอีกครั้ง แต่ทางกลุ่มฯ จะทำกล้วยเค็มน้อยกว่าเนื่องจากขายได้ปริมาณน้อยกว่า
การทำกล้วยฉาบขายสร้างรายได้ให้กับกลุ่มฯ ประมาณเดือนละ 40,000 บาท สมาชิกในกลุ่มฯ มีรายได้ประมาณ 3,500 บาท/คน/เดือน จากการลงทุนโดยระดมหุ้นคนละ 100 บาท เมื่อครั้งก่อตั้งกลุ่มเป็นทุนดำเนินงาน ทั้งนี้รายได้ทั้งหมดจะหักไว้ร้อยละ 10 เพื่อเป็นค่าบริหารจัดการของกลุ่มฯ
“แม้กลุ่มฯ จะมีสมาชิกไม่กี่ราย สร้างรายได้ไม่มากนัก แต่ก็สามารถเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชนได้เป็นอย่างดี ช่วยสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้คนในชุมชน โดยจะเห็นได้จากการที่กลุ่มฯ ซื้อวัตถุดิบในท้องถิ่น ใช้แรงงานในพื้นที่ และคืนรายได้ที่ดีกลับสู่ชุมชน”

กลุ่มจมูกข้าวรุ่งอรุณ


 พวกเราได้เข้าไปชมทั้งที่ร้านของกลุ่ม มีสินค้ามากมาย มีอุปกรณ์ที่เป็นภูมิปัญญาไทย ในการผลิตข้าวสารไว้ให้ชมด้วย เพื่อนๆ เมื่อเห็นก็อดใจไม่ได้ที่จะลองทำ เลยออกมาตามภาพ ตลกๆ ขำๆ น่ารักดีค่ะ... โดยนอกจากได้รายละเอียดข้อมูลของกลุ่มแล้ว เรายังได้เข้าไปดูกระบวนการผลิตของกลุ่มด้วย ได้คุณภาพมาตรฐานสากลค่ะ
 ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม นอกจากจะมีอาหารจมูกข้าว แล้ว ยังมีการแปรรูปสมุนไพรต่างๆ แปรรูปผลไม้อบแห้ง มีการขายปลีกข้าวสาร โดยพัฒนาหีบห่อให้น่าสนใจ น่าซื้อ สามารถซื้อไปเป็นของที่ระลึกให้กับญาติมิตร พี่น้องเพื่อนฝูง ลูกแม่ลำดวน ได้ลิ้มลองรสชาติของอาหารเสริมจมูกข้าวแล้ว หอมอร่อยค่ะ...โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ หากได้ทานอาหารประเภทนี้แล้ว รับรองร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตำบลสุขภาวะ




           เทศบาลปริกและแกนนำชุมชนหลายๆต้องผันตัวเอง จากเมื่อก่อนที่คิดทำเพื่อชุมชน เพื่อพี้น้องของตัวเอง  มาวันนี้ ต้องมาเป็นอาจารย์ เป็นผู้ให้คำปรึกษา แก่หลายๆชุมชน หลายๆตำบล  ซึ่งองค์ความรู้ที่หลายๆ หน่วยงาน หลายๆชุมชน หลายๆตำบล เข้ามาร่วมเรียนรู้กันมากที่สุด คือการจัดการชุมชนสุขภาวะ  เทศบาลปริก เลยกลายเป็นเทศบาลแกนนำในการจัดการอบรมให้ความรู้   โดยใช้ชื่อว่าโครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้  ซึ่งเป้าหมายจะประกอบด้วย กลุ่มผู้นำศาสนา แกนนำชุมชน ครูสอนศาสนา ครูผู้ดูแลเด็ก และแกนนำชุมชน (แกนนำทั้งนั้นเลย)  ทำให้แกนนำในชุมชนหลายๆคน ที่เคยแต่ทำและทำไม่เคยว่าต้องมาสอนใครให้ทำ   ต้องมาเป็นอาจารย์ให้ความรู้  บ้านหลายๆหลังในชุมชนต้องกลายเป็นโฮมสเตย์ ให้ผู้มาเยือนได้พักพิง  กลุ่มอาชีพหลายๆกลุ่มพลอยได้รับอานิสงค์ในครังนี้ด้วย   องค์ความรู้ในเทศบาลปริกที่สามารถมาศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านสี่เหลี่ยม




ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านสี่เหลี่ยม

       ด้วยวิกฤตการณ์ความมั่นคงทางอาหารอันเนื่องมาจากจำนวนของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง   แต่พื้นที่เพาะปลูกกลับลดลงเพราะการขยายตัวของชุมชน   ประกอบกับพื้นที่ส่วนใหญ่ยังเน้นการปลูกข้าวเพื่อจำหน่าย     พืชผักส่วนใหญ่ที่ชาวบ้านสี่เหลี่ยมบริโภคอยู่ในชีวิตประจำวันจึงต้องพึ่งพาอาศัยจากตลาดอำเภอปราสาทซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ  ๑๒  กิโลเมตร   อีกทั้งพืชผักจากท้องตลาดก็มีราคาแพงและเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารพิษ   ชาวบ้านสี่เหลี่ยมจึงได้รวมตัวกันเพื่อจัดสรรพื้นที่สารธารณะรอบหนองสี่เหลี่ยม   ให้สมาชิกในหมู่บ้านได้ใช้ประโยชน์โดยทำแปลงปลูกผักปลอดสารพิษสำหรับบริโภคในชุมชน  และพัฒนาเป็น “ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านสี่เหลี่ยม”  

สานก๋วย



               “สานก๋วย” ภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงเป็นทางเลือกอาชีพหนึ่งที่ทำเงินให้กับชาวแม่นะได้เป็นอย่างดี “เริ่มแรก เมื่อทำการเกษตร ด้วยการเช่าที่น่าที่สวนของคนอื่น ต้องกู้เงินมาลงทุน เป็นหนี้ เป็นสิน พอมาสานก๋วยไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกว่าดี เพราะไม่ต้องลงทุนมาก เพียงไปหาตอกทำเรื่อยๆ 1 สัปดาห์ สานได้สัก 50 ลูก จะมีรายได้ประมาณ 400 บาท ดีกว่าไปทำงานรับจ้าง จึงช่วยกันทำกับลูก ทำให้มีเงินเหลือ ไปใช้หนี้ใช้สิน จนลดลงเรื่อยๆ และยังมีเงินส่งลูกไปเรียนในเมือง ทำให้ครอบครัวอยู่ได้” คำยืนยันถึงชีวิตที่ดีขึ้นจากการสานก๋วย ของนางโสภิน  กองสถาน หนึ่งชีวิตในตำบลแม่นะ

วิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่

              
           วิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่ นำไปสู่วิกฤตของชุมชน    เกษตรกรต้องประสบกับภาวะขาดทุนจากการทำนา เนื่องจากต้องซื้อปุ๋ยเคมี และสารเคมีเพื่อใช้ในการเพาะปลูก ซึ่งมีต้นทุนสูง ส่งผลให้ระบบนิเวศรอบตัวเกษตรกร เริ่มเสื่อมความอุดมสมบูรณ์ จากการปนเปื้อนของสารเคมี สัตว์เลี้ยงและสิ่งมี    ชีวิตในนาข้าวต้องตายลงจากสารเคมี ขณะที่เกิดโรคระบาดในนาข้าว ดินเสื่อมลงจากการใช้สารเคมี “ในน้ำไม่มีปลา ในน้ำไม่มีข้าว” เหมือนในอดีต ประกอบกับการรับวัฒนธรรมวัตถุนิยมเข้าไปใช้ใน  การดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้วิถีชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนต้องตกอยู่ในภาวะเสี่ยง

โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

        โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นโครงการหนึ่ง ที่เน้นให้บุคคล และครอบครัวตลอดจนผู้ร่วมงาน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทั้งทางกายและทางใจ พึ่งพาตนเองอย่างเต็มความสามารถ ไม่ทำอะไรเกินตัว ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๔ กรมการพัฒนาชุมชน กำหนดพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากให้มีความมั่นคง เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมตามประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้เข้มแข็ง และการจัดการความรู้ของชุมชน ซึ่งการส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนน้อมนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถของประชาชนและชุมชน ตลอดจนสร้างความมั่นใจให้กับผู้นำชุมชน เพื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมพัฒนาตนเองและพัฒนาชุมชนไป

ปัดฝุ่นแนวคิดพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

     
       ปัญหาใหญ่ที่สำคัญของเศรษฐกิจชุมชน ก็คือ ในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ หน่วยงานรัฐหรือนักการเมืองพยายามลากหรือกำหนดเอา “ธุรกิจชุมชน” มาใช้ตามแบบที่ตนคิดว่าจะเป็น เพื่อสนองประโยชน์ของหน่วยงาน พรรคพวก พรรคการเมืองมีการเสนอนโยบายธุรกิจชุมชนหรือเศรษฐกิจชุมชนขึ้นมาใช้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างภาพทางการเมือง รวมไปถึงการตอบสนองความต้องการของเจ้าหนี้ต่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก ไอเอ็มเอฟ อันเนื่องจากกรณีพันธสัญญาเงินกู้ ที่กำหนดให้รัฐบาลไทยต้องปฏิบัติตามแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจนั้น ส่งผลกระทบต่อภาคประชาชนอย่างรุนแรง จึงเสนอให้เงินกู้เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบนั้นในช่วงระยะสั้น ซึ่งมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าทำให้คุณค่าหรือปรัชญาของธุรกิจชุมชนบิดเบือนไปจากกระบวนการพัฒนา